by zalim-code.com

ระเบียบข้อปฏิบัติระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

ระเบียบปฏิบัติ
1. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องมีเวลาปฏิบัติงานครบ 1 ภาคเรียน ยกเว้นกรณิจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากผู้บริหารโรงเรียน
2. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องแต่งกายตั้งแต่งเส้นผมจรดรองเท้า และใช้เครื่องแบบนักษึกษาตามระเบียบของมหาวิทยาลัยที่แนบมา
3. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ต้องห้ามการพนัน อบายมุข สิ่งเสพติดทุกอย่าง ชู้สาว รวมไปถึงการกระทำที่ผิดคุณธรรมทั้งในและนอกเวลาปฏิบัติงานเด็ดขาด
4. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องปฏิบัติตามคำตักเตือนและคำแนนะนำของครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ อาจารย์พี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศอย่างเคร่งครัด
5.นักศึกษาฝึก ประสบการณ์ ขั้นปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องไปถึงโรงเรียนฝึกประสบการณ์เวลานอกโรงเรียนเข้าอย่างน้อย 30 นาที เวลากลับที่พักหลังจากโรงเรียนเลิกแล้ว 30 นาทีอย่างน้อย
6. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องลงเวลาการทำงานและกลับตามความเป็นจริงในบัญชีลงเวลาการทำงานที่ โรงเรียนจัดทำ
7. การขออนุณาตลาป่วย นักศึกษาจะต้องยื่นในลาตามระเบียบของทางราชการต่อครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการ ให้ส่งใบลาในวันที่ป่วยหรือวันแรกที่กลับมาทำการสอนหลังจากหายป่วยแล้ว
8. ในระหว่างเวลาราชการ ถ้านักศึกษามีความจำเป็นจะต้องออกนอกบริเวณโรงเรียนให้นักศึกษาขออนุญาตจาก อาจารย์พี่เลี้ยง หรือผู้บริหารโรงเรียน และปฏิบัติตามระเบีบยการออกนอกบริเวณของโรงเรียนตามระบุในสัญยาที่ทำไว้กับ ฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
9.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องปฏิบัติตามระเบียบต่างๆ ของโรงเรียน เช่นเดียวกับครูประจำการขั้นทดลองปฏิบัติตามระเบียบต่างๆของโรงเรียน เช่นเดียวกับครูประจำการขั้นการทดลองปฏิบัติงานจึงไม่มัสิทธิลากิจ ยกเว้นกรณีได้รับอนุญาตจากผู้บิหารโรงเรียน
10.นักศึกษาฝึกประสบการณื ขั้นปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องรายงานให้ ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการ และอาจารย์นิเทศทราบทันที ถ้ามีเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โรงเรียน มหาวิทยาลัย นักเรียน หรือตัวนักศึกษาเอง
11. นักศึกษาควรปรึกษาอาจารย์พี่เลี้ยงเกี่ยงกับการทำแผนการสอน และต้องส่งแผนการสอนให้อาจารย์พี่เลี้ยงตรวจล่วงหน้าก่อนสอน 1 สัปดาห์
12. นักศึกษาที่เป็นประธานหน่วยฝึกประสบการณ์ ขั้นการสอนในสถารศึกษา 1 จะต้องรายงานการมาสาย ขาด การลาป่วย ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ ในโรงเรียนให้อาจารย์นิเทศก์ทราบทุกครั้งที่มาทำการนิเทศ และสรุปเป็นลายลักษณือักษรส่งฝ่ายฝึกประสบการณืในวันสัมมนาทุกครั้ง และวันปัจฉิมนิเทศ
13. นักศึกษาจะต้องมีการประชุมหารื เพื่อวางโครงการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาต่างตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งกันและกันเป็นประจำทุกสัปดาห์ และเลขานุการหน่วยต้องจดบันทึกไว้ในสมุดรายงานการประชุมทุกครั้ง และส่งฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในวันสัมมนาและปัจฉิมนิเทศ
14. นักศึกษาฝึกประสบการณื ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ที่พักในบ้านพักของโรงเรียน จะต้องไม่นำบุคคลภายนอกมาค้างคืนในบ้านพัก การไปค้างคืนที่อื่นจะต้องแจ้งให้ทางอาจารย์ที่รับผิดชอบเรื่องที่พักทราบ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง
15.ถ้านักศึกษาประพฤติตนไม่เหมาะสมกับ การเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณืวิชาชีพครู แม้นักศึกษาได้รับการว่ากล่าวตักเตือนแล้วก็ยังไม่แก้ไขปรับปรุงตนเองให้ดี ขึ้น มหาวิทยาลัยอาจพิจารณาให้นักศึกษาพ้นสภาพการฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ในภาคเรียนนั้น

วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

แผนการสอนเรื่องสถิติ ม.3

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง สถิติ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

รายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา 33101 ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 ภาคเรียนที่ 2

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การศึกษาโดยใช้ระเบียบและวิธีทางสถิติ เวลา 1 ชั่วโมง

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

.

1. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น

มาตรฐาน ค 5.1 : เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้

2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

2.1 ด้านความรู้ (K)

กำหนดประเด็น เขียนข้อคำถามและเก็บรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสมได้

2.2 ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (A)

1) มีความรับผิดชอบ

2) สามารถทำงานอย่างเป็นระบบ เรียบร้อย

3) สามารถการทำงานร่วมกับผู้อื่น

2.3 ด้านทักษะ / กระบวนการเรียนรู้ (P)

1) การแก้ปัญหา

2) การใช้เหตุผล

3) การสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอ

3. จุดประสงค์การเรียนรู้

3.1 ด้านความรู้ (K)

นักเรียนสามารถกำหนดประเด็น เขียนข้อคำถามและเก็บรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสมได้

3.2 ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (A)

1) นักเรียนมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

2) นักเรียนสามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบและเรียบร้อย

3) นักเรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

2.3 ด้านทักษะ / กระบวนการเรียนรู้ (P)

1) นักเรียนมีกระบวนการแก้ปัญหาที่หลากหลาย

2) นักเรียนสามารถบอกเหตุผลในการแก้โจทย์ปัญหาได้

3) นักเรียนมีวิธีการสื่อสาร สื่อความหมาย และการนำเสนอที่หลากหลาย

4. สาระสำคัญสาระการเรียนรู้

การกำหนดประเด็น การเขียนข้อคำถาม และการรวบรวมข้อมูล

5. สาระการเรียนรู้

สถิติ มี 2 ความหมาย คือ

สถิติ หมายถึง ตัวเลขหรือกลุ่มของตัวเลขที่แสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใด เช่น สถิติเกี่ยวกับปริมานน้ำฝน สถิติการเกิดอัคคีภัย ตัวเลขแสดงน้ำหนักมากที่สุดที่นักยกน้ำหนักหญิงทำได้ เป็นต้น

สถิติ หมายถึง กระบวนการวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดระบบวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การแปลความหมาย และการสรุปผลข้อมูล

การเรียนรู้สถิติในความหมายที่เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวกับการจัดการข้อมูล หรือข้อเท็จจริงของเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เราสนใจ โดยข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมมานั้น ทางสถิติเรียกว่าข้อมูลดิบ หรือคะแนนดิบ หรือค่าจากการสังเกต

ข้อมูลทางสถิติ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าใช้จ่าย ค่าเดินทาง อายุ วันที่ เป็นต้น

2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ หรือข้อมูลเชิงคุณลักษณะ ได้แก่ เพศ ศาสนา สถานภาพ ประเภทกีฬาที่ชอบ เป็นต้น

1. การศึกษาโดยใช้ระเบียบและวิธีทางสถิติ



ระเบียบทางสถิติ มีวิธีการดังนี้ การกำหนดประเด็นปัญหา การกำหนดคำถาม การวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การสรุปและตีความ

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีหลายแบบ เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบประเมินค่า เป็นต้น

ตัวอย่าง

ขวัญข้าวต้องการศึกษาว่าครอบครัวของเขาต้องเสียค่าโทรศัพท์ในแต่ละเดือนมากน้อยเพียงใด เธอจึงรวบรวมใบแจ้งค่าใช้บริการ จดบัญทึกข้อมูล จัดทำตารางบัญทึกข้อมูลวิเคราะห์ และสรุปผลจากข้อมูลที่รวบรวมมา ได้ดังนี้

ตารางแสดงค่าโทรศัพท์ของครอบครัวขวัญข้าว

ระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2549

เดือน

จำนวนเงิน (บาท)

มกราคม

1,939.38

กุมภาพันธ์

1,263.14

มีนาคม

1,188.24

เมษายน

914.31

พฤษภาคม

991.89

มิถุนายน

1,803.49

รวม 6 เดือน

8,100.45

จากตารางข้างต้นขวัญข้าวสรุปได้ว่า “ ในรอบ 6 เดือนครอบครัวของเราใช้จ่ายมากทีสุดในเดือนมกราคม เป็นเงิน 1,939.38 บาท และต่ำที่สุดในเดือนเมษายน เป็นเงิน 914.31 บาท แนวโน้มของค่าโทรศัพท์ลดลงในช่วงห้าเดือนแรกของปี และกลับสูงขึ้นในเดือนมิถุนายนจนเกือบเป็นสองเท่าของเดือนพฤษภาคม ในช่วง 6 เดือนแรกของ ปี 2549 นี้ ครอบครัวของเราต้องจ่ายค่าโทรศัพท์รวมแล้ว 8,100.45

ขวัญข้าวแจ้งสรุปผลให้คนอื่นๆในครอบครัวทราบและขอร้องให้ทุกคนลดการใช้โทรศัพท์เพื่อจะได้ลดรายจ่ายของครอบครัวลง

จากตัวอย่าง สามารถนำมาพิจารณาการใช้ระเบียบวิธีทางสถิติของขวัญข้าวได้ดังนี้

1) ประเด็นที่สนใจจะหาข้อมูล : ค่าโทรศัพท์รายเดือน

2) แหล่งข้อมูล (ผู้ให้ข้อมูล) : ใบแจ้งค่าบริการ

3) คำถามที่ใช้ : ค่าโทรศัพท์เดือนละเท่าไหร่

4) วิธีการเก็บข้อมูล : จดบันทึกจากเอกสาร

5) ลักษณะของข้อมูล : ข้อมูลเชิงปริมาณ

6) การนำเสนอข้อมูล : นำเสนอข้อมูลด้วยตาราง

7) การสรุปและตีความข้อมูล : ในรอบ 6 เดือนครอบครัวของเราใช้จ่ายมากทีสุดในเดือนมกราคม เป็นเงิน 1,939.38 บาท และต่ำที่สุดในเดือนเมษายน เป็นเงิน 914.31 บาท แนวโน้มของค่าโทรศัพท์ลดลงในช่วงห้าเดือนแรกของปี และกลับสูงขึ้นในเดือนมิถุนายนจนเกือบเป็นสองเท่าของเดือนพฤษภาคม ในช่วง 6 เดือนแรกของ ปี 2549 นี้ ครอบครัวของเราต้องจ่ายค่าโทรศัพท์รวมแล้ว 8,100.45

8) การตัดสินใจ : ใช้โทรศัพท์เท่าที่จำเป็น เพื่อลดรายจ่ายของครอบครัว

6. ภาระงาน / ชิ้นงาน

5.1 ใบกิจกรรมที่ 1

7. กิจกรรมการจัดการเรียนรู้

7.1 ขั้นนำ

ครูสอบถามความรู้เกี่ยวกับสถิติของนักเรียน

7.2 ขั้นเข้าสู่บทเรียน

1) ทบทวนนักเรียนเกี่ยวกับสถิติในชีวิตประจำวัน ในการบอกตัวเลข เช่น สถิติในการวิ่งแข่งในระยะ 200 เมตร ของนักวิ่ง ตัวเลขแสดงน้ำหนักที่มากที่สุดของนักยกน้ำหนักที่ทำได้

และสถิติในความหมายทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นกระบนการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดระบบและการวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การแปลความหมาย และการสรุปผล

2) ครูรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนชั้น ม. 3/3 เกี่ยวกับน้ำหนักของนักเรียนจำนน 10 คน และให้นักเรียนทำใบความรู้ ที่ครูแจกให้โดยจะได้ข้อมูลทั้งหมด 10 ตัวด้วยกัน

เช่น น้ำหนักของนักเรียน 10 คน เป็นดังนี้ 45 51 43 52 47 55 48 49 50 51

3) ให้นักเรียนได้รู้จักความหมายของข้อมูลดิบ จากข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมมาได้

เช่น จาก ข้อมูลที่ได้จากน้ำหนักของนักเรียน 10 คน น้ำหนัก คือ ข้อมูลซึ่งเราจะเรียก

45 51 43 52 47 55 48 49 50 51 ว่า ข้อมูลดิบ

4) อธิบายความหมายของข้อมูลปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ พร้อมทั้งยกตัวอย่างให้นักเรียนพิจารณาถึงความแตกต่างของข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

เช่น - ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าใช้จ่าย ค่าเดินทาง อายุ วันที่ เป็นต้น

- ข้อมูลเชิงคุณภาพ หรือข้อมูลเชิงคุณลักษณะ ได้แก่ เพศ ศาสนา สถานภาพ ประเภทกีฬาที่ชอบ เป็นต้น

5) ให้นักเรียนพิจารณาการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีทางสถิติ พร้อมทั้งครูอธิบายขั้นตอนเกี่ยวกับระเบียบทางสถิติ พร้อมทั้งยกตัวอย่างและนักเรียนร่วมทำตามตัวอย่างที่ครูยกให้

7.3 ขั้นสรุป

1) ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มละ 8 คนเพื่อ ทำใบกิจกรรมที่ 1 และส่งตัวแทนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

2) ให้นักเรียนศึกษาการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีทางสถิติเพิ่มเติมจากหนังสือเรียน หรือใบความรู้เรื่องสถิติ

3) ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปความหมายของสถิติ และสรุปเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการทางสถิติ

8. สื่อการเรียนรู้ และ แหล่งเรียนรู้

8.1 สื่อการเรียนรู้

1) หนังสือเรียน

2) ใบความรู้เรื่องสถิติ

8.2 แหล่งเรียนรู้

1) ห้องสมุดโรงเรียน

2) นักเรียนที่เรียนเก่งและรุ่นพี่

3) ครูทุกคน

9. การวัดผลและการประเมินผลการเรียนรู้

สิ่งที่จะวัด

เครื่องมือวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้

1. ด้านความรู้ (K)

การกำหนดประเด็น การเขียนข้อคำถาม และการรวบรวมข้อมูล

1) ใบความรู้เรื่องสถิติ

2) ใบกิจกรรมที่ 1

1) นักเรียนสามารถตอบคำถามได้เป็นส่วนใหญ่

2) นักเรียนสามารถทำใบกิจกรรม ถูกต้องอย่างน้อย 50%

สิ่งที่จะวัด

เครื่องมือวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้

2. ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (A)

1) ความรับผิดชอบ

2) ความสามารถในการทำงานอย่างเป็นระบบ เรียบร้อย

3) การทำงานร่วมกับผู้อื่น

แบบสังเกตพฤติกรรม

นักเรียนสามารถปฏิบัติตามแบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน และได้คะแนน 2 – 3 คะแนน ถือว่าผ่าน

3. ด้านทักษะ / กระบวนการเรียนรู้ (P)

1) การแก้ปัญหา

2) การใช้เหตุผล

3) การสื่อสาร การสื่อความหมายและการนำเสนอ

แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

นักเรียนสามารถแก้ปัญหา ใช้เหตุผล สื่อสาร สื่อความหมายและนำเสนอ

(ใบกิจกรรม) ทำถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และได้คะแนนตามแบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน

2 – 3 คะแนน ถือว่าผ่าน

ไม่มีความคิดเห็น: