by zalim-code.com

ระเบียบข้อปฏิบัติระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

ระเบียบปฏิบัติ
1. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องมีเวลาปฏิบัติงานครบ 1 ภาคเรียน ยกเว้นกรณิจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากผู้บริหารโรงเรียน
2. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องแต่งกายตั้งแต่งเส้นผมจรดรองเท้า และใช้เครื่องแบบนักษึกษาตามระเบียบของมหาวิทยาลัยที่แนบมา
3. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ต้องห้ามการพนัน อบายมุข สิ่งเสพติดทุกอย่าง ชู้สาว รวมไปถึงการกระทำที่ผิดคุณธรรมทั้งในและนอกเวลาปฏิบัติงานเด็ดขาด
4. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องปฏิบัติตามคำตักเตือนและคำแนนะนำของครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ อาจารย์พี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศอย่างเคร่งครัด
5.นักศึกษาฝึก ประสบการณ์ ขั้นปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องไปถึงโรงเรียนฝึกประสบการณ์เวลานอกโรงเรียนเข้าอย่างน้อย 30 นาที เวลากลับที่พักหลังจากโรงเรียนเลิกแล้ว 30 นาทีอย่างน้อย
6. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องลงเวลาการทำงานและกลับตามความเป็นจริงในบัญชีลงเวลาการทำงานที่ โรงเรียนจัดทำ
7. การขออนุณาตลาป่วย นักศึกษาจะต้องยื่นในลาตามระเบียบของทางราชการต่อครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการ ให้ส่งใบลาในวันที่ป่วยหรือวันแรกที่กลับมาทำการสอนหลังจากหายป่วยแล้ว
8. ในระหว่างเวลาราชการ ถ้านักศึกษามีความจำเป็นจะต้องออกนอกบริเวณโรงเรียนให้นักศึกษาขออนุญาตจาก อาจารย์พี่เลี้ยง หรือผู้บริหารโรงเรียน และปฏิบัติตามระเบีบยการออกนอกบริเวณของโรงเรียนตามระบุในสัญยาที่ทำไว้กับ ฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
9.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องปฏิบัติตามระเบียบต่างๆ ของโรงเรียน เช่นเดียวกับครูประจำการขั้นทดลองปฏิบัติตามระเบียบต่างๆของโรงเรียน เช่นเดียวกับครูประจำการขั้นการทดลองปฏิบัติงานจึงไม่มัสิทธิลากิจ ยกเว้นกรณีได้รับอนุญาตจากผู้บิหารโรงเรียน
10.นักศึกษาฝึกประสบการณื ขั้นปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องรายงานให้ ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการ และอาจารย์นิเทศทราบทันที ถ้ามีเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โรงเรียน มหาวิทยาลัย นักเรียน หรือตัวนักศึกษาเอง
11. นักศึกษาควรปรึกษาอาจารย์พี่เลี้ยงเกี่ยงกับการทำแผนการสอน และต้องส่งแผนการสอนให้อาจารย์พี่เลี้ยงตรวจล่วงหน้าก่อนสอน 1 สัปดาห์
12. นักศึกษาที่เป็นประธานหน่วยฝึกประสบการณ์ ขั้นการสอนในสถารศึกษา 1 จะต้องรายงานการมาสาย ขาด การลาป่วย ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ ในโรงเรียนให้อาจารย์นิเทศก์ทราบทุกครั้งที่มาทำการนิเทศ และสรุปเป็นลายลักษณือักษรส่งฝ่ายฝึกประสบการณืในวันสัมมนาทุกครั้ง และวันปัจฉิมนิเทศ
13. นักศึกษาจะต้องมีการประชุมหารื เพื่อวางโครงการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาต่างตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งกันและกันเป็นประจำทุกสัปดาห์ และเลขานุการหน่วยต้องจดบันทึกไว้ในสมุดรายงานการประชุมทุกครั้ง และส่งฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในวันสัมมนาและปัจฉิมนิเทศ
14. นักศึกษาฝึกประสบการณื ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ที่พักในบ้านพักของโรงเรียน จะต้องไม่นำบุคคลภายนอกมาค้างคืนในบ้านพัก การไปค้างคืนที่อื่นจะต้องแจ้งให้ทางอาจารย์ที่รับผิดชอบเรื่องที่พักทราบ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง
15.ถ้านักศึกษาประพฤติตนไม่เหมาะสมกับ การเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณืวิชาชีพครู แม้นักศึกษาได้รับการว่ากล่าวตักเตือนแล้วก็ยังไม่แก้ไขปรับปรุงตนเองให้ดี ขึ้น มหาวิทยาลัยอาจพิจารณาให้นักศึกษาพ้นสภาพการฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ในภาคเรียนนั้น

วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

ลองอ่านดู

การคบคน ก็เหมือนกับไส้อั่ว
ดูจากภายนอก จะไม่ค่อยน่ากิน
แต่เมื่อได้ชิม . . .
ก็จะรู้ว่า. . . .
รสชาติไม่ได้เหมือนกับที่คุณเห็น




จิตใจของคุณ ก็เหมือนกับไข่ 1 ฟอง
ที่ดูภายนอกแล้ว . . . แข็งแกร่ง
แต่เมื่อคุณลองกระเทาะเปลือกออกมา
ก็จะเห็นว่า . . .
คนๆ นั้น . . . ไม่ได้แข็งแกร่งไปกว่าคุณเลย





ร่างกายของคนๆ หนึ่งก็เหมือนกับน้ำแข็ง
ที่สักวันหนึ่ง . . . มันก็ต้องละลายไป





นิสัยของคน ก็เหมือนกับข้าว
ถ้าคุณไม่หุง . . . ย่อมกินไม่ได้




ความรักที่อกหัก . . . ก็เหมือนกับต้มยำที่มีทุกรส
ยกเว้น . . . ความหวาน





ความรัก . . . ก็เหมือนกับไข่เจียว
ที่คุณกินได้ทุกวัน . . . แต่ก็ยังไม่เบื่อ





ชีวิตวัยรุ่นก็เหมือนกับ . . . เป็ปซี่
ที่อึกแรกมักจะซ่า . . . แต่เปิดทิ้งไว้นานๆ เข้า
ก็หายซ่าไปเอง . . .




ชีวิตวัยรุ่นก็เหมือนกับสัตว์หลายๆ ชนิดในสวนสัตว์
ที่ต้องการออกไปสู่โลกกว้าง . . .




ถ้าคุณกำลังอกหัก . . . แล้วยังมองหารักใหม่
โดยที่จะเอามารักษาแผลเดิม
ก็จะเหมือนกับตอนที่คุณท้องเสีย . . . แต่ดันกินส้มตำ




แฟนก็เหมือนกับเพลงใหม่เพลงหนึ่ง
ที่คุณมักบอกกับตัวเองว่า . . . มันเพราะ
แต่เมื่อฟังไปสักร้อยรอบ . . . คุณก็จะเบื่อไปเอง




ต่างกับเพื่อนสาว . . .
ซึ่งเหมือนกับเพลงคลาสสิก . . . ที่นานๆ คุณเปิดที
แต่ก็ยังเพราะ ไม่ต่างจากครั้งแรกที่คุณฟัง




คนๆ หนึ่งที่คุณเคยชอบ . . . แต่เขาไปชอบคนอื่น
แต่คุณก็ยังจำทุกอย่างเกี่ยวกับเขาได้
ก็เหมือนกับ เพลงของค่าย RS GRAMMY
ที่คุณบอกว่า . . . เกลียด
แต่คุณก็ยังร้องเพลงนั้นได้จนจบ





ลองสังเกตไหมว่า . . . ถ้ามีรูปถ่ายหมู่ใบหนึ่ง
คนที่คุณมองหาคนแรก . . . คือ คนที่คุณชอบอยู่



เบอร์โทรศัพท์ . . .
ที่ถึงจะเป็นเพื่อนสนิทคุณ . . . คุณก็จำไม่ได้
แต่ถ้าเป็นเบอร์ของคนที่หลงใหลล่ะ
คุณจะจำได้ทุกตัว . . . แม้ว่ามันจะไม่ซ้ำกันเลย



เพลงที่คุณชอบมากที่สุด ตอนที่คุณมีแฟน
อาจจะกลายเป็นเพลงที่คุณเกลียดที่สุด . . . เมื่อเขาจากไป



Mail 100 Mail . . . ที่เพื่อนคุณส่งให้
ก็ไม่อาจเทียบได้กับ คนรักคุณที่ตอบมาแค่ว่า
. . . "ขอบคุณนะ" . . .





ก็เหมือนกับวันๆ หนึ่งที่คุณคุยกับ
เพื่อนเป็นร้อยประโยค แต่ก็จำไม่ได้
แต่เมื่อคุณได้คุยกับคนที่คุณแอบชอบ
แม้ประโยคเดียว คุณก็จำได้ . . .
จนกว่าเขาจะมีแฟนเป็นตัวเป็นตน

เพื่อนเก่าเหมือนรูปถ่าย เพื่อนใหม่เหมือนรองเท้า

เพื่อนเก่า :
เป็นคนที่อยู่กับเรา ตอนเรามีความรักครั้งแรก
เป็นคนที่มีความทรงจำทั้งดีและแย่ร่วมกันกับเรา
เป็นคนที่มีรูปติดอยู่ในสมุดเฟรนด์ชิปเล่มเดิม
เป็นคนที่เซ็นชื่อกำกับตัวโตๆ ตรงคำว่ารักเรามากกว่าใคร
เป็นคนที่มักวิ่งเข้ามาในความคิดถึง ตอนเราเหงา
เป็นคนที่เราภูมิใจ เมื่อเล่าให้คนอื่นฟัง
เพื่อนเก่า.....จึงเหมือนกับรูปถ่ายที่ถูกเก็บไว้ในอัลบั้ม


ส่วนเพื่อนใหม่ :
เป็นคนที่อยู่กับเรา ตอนเรามีความรักครั้งปัจจุบัน
เป็นคนที่ยืนอยู่ข้างๆ ทั้งตอนที่เราผิดหวังและสมหวัง
เป็นคนที่บอกเราว่าถึงแม้บางครั้งจะล้ม
แต่ถ้าใจไม่แพ้ ก็สามารถจะเริ่มต้นวิ่งใหม่ได้ทุกเมื่อ
เป็นคนที่ถ้าเราไม่สบาย จะรีบมาดูแล
เป็นคนที่เราอุ่นใจ เมื่อเล่าให้คนอื่นฟัง
เพื่อนใหม่.....จึงเหมือนกับรองเท้า
ที่พร้อมจะเดินไปในทุกๆที่ ด้วยกันกับเรา


ในชีวิตของทุกๆคน
ต่างก็จำเป็นต้องมีทั้งเพื่อนเก่าและเพื่อนใหม่อยู่ในชีวิต
เพื่อจะได้มีทั้ง ''ความทรงจำที่น่าภูมิใจ'' และ ''ปัจจุบันที่อบอุ่นใจ''
โดยการให้ความสำคัญกับ ''รูปถ่ายในอัลบั้ม''
หมั่นหยิบขึ้นมาปัดฝุ่น คิดถึงและนึกถึงเรื่องราวในภาพเหล่านั้นเสมอๆ
แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่ลืมที่จะหมั่นเช็ดฝุ่นให้กับรองเท้าด้วย

อย่าให้การเดินไปด้วยกัน เป็นการเดินเหยียบย่ำกัน
อย่าให้ความเคยชิน ทำให้หมดความเกรงใจและไม่ให้เกียรติกัน
เพราะถึงแม้รองเท้าจะยี่ห้อดีแค่ไหน เพื่อนใหม่คนนั้นจะดีกับเราแค่ไหน

ถ้าเราใช้งานแบบไม่ถนอม รองเท้าก็อาจพังได้
เพื่อนใหม่ก็อาจหนีหายไปจากเราได้
ซึ่งก็รู้ใช่หรือเปล่า ว่ารองดท้าดีๆ ที่ใส่แล้วเหมาะกับเรานั้น หาไม่ง่ายเลย
เพื่อนดีๆ ที่เข้าใจเรานั้น หายากมาก และบางที...ตลอดชีวิต
อาจเจอแค่คนเดียว

เราเอามาจากหนังสือเล่มหนึ่งนะ เห็นว่าความหมายมันดีเลยส่งมาให้
ความหมายของคำว่าเพื่อนนั้นมีมากกว่านี้แต่ว่า
เราจะต้องค้นหามันด้วยตัวเอง
เมื่อถึงวันนั้นเราจะเข้าใจและพร้อมที่จะชื่นชมรูปถ่ายไปพร้อมๆกับการเดินด้วยรองเท้าที่เรารัก

เขียนไว้บนพื้นทราย

มีคน 2 คนเป็นเพื่อนซี้กัน..
ต่างร่วมเดินทางไปในทะเลทราย... ระหว่างทาง..เกิดโต้เถียงขัดแย้งไม่เข้าใจกัน

เพื่อนคนหนึ่ง...พลั้งลงมือ...ตบหน้าอีกฝ่าย
ฝ่ายถูกทำร้าย...เจ็บปวด...แต่ไม่เอ่ยวาจา กลับเขียนลงบนผืนทรายว่า....

"วันนี้...ฉันถูกเพื่อนรักตบหน้า"

ทั้งสองยังคงเดินทางต่อ...กระทั่งถึงแหล่งน้ำ
พวกเขาตัดสินใจอาบน้ำ...ชำระกาย

พลัน..คนที่ถูกตบหน้ากลับจมน้ำ เพื่อนอีกคนไม่รั้งรอ...เข้าช่วยชีวิต
คนรอดตาย...ยังคงไม่เอ่ยวาจา.. กลับสลักลงไปบนหินใหญ่...
"วันนี้...เพื่อนรักช่วยชีวิตฉันไว้"



เพื่อน...อีกคนไม่เข้าใจ...ถามว่า... เมื่อถูกฉันตบหน้า...เธอเขียนลงทราย..
แล้วทำไมเมื่อครู่...ต้องสลักบนหิน
อีกคนยิ้มพราย...กล่าวตอบ

เมื่อถูกเพื่อนรักทำร้าย... เราควรเขียนมันไว้บนทราย
ซึ่งสายลมแห่งการให้อภัย... จะทำหน้าที่พัดผ่าน...ลบล้างไม่เหลือ

แต่เมื่อมีสิ่งที่ดีมากมาย...บังเกิด
เราควรสลักไว้บนก้อนหินแห่งความทรงจำในหัวใจ
ซึ่งจะไม่มีสายลมแรงเพียงใด...ลบล้างทำลาย

เพื่อน

เพื่อนคือ...ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ยิ่งกว่าแฟนก้อว่าได้
ไม่ตามใจมัน ก็ไม่ด่า
แต่ถ้ามันไม่ตามใจเราก็ด่าได้
โดยที่มัน และเราไม่โกรธกัน


เพื่อนเมื่อโกรธกันสามารถกลับมาคืนดีกันได้โดยไม่ต้องเก็บความสงสัยว่า
เรื่องที่โกรธกันคืออะไร ผ่านแล้วก็ผ่านไป

เพื่อนคือที่พึ่งยามเป็นทุกข์
เพื่อนคือที่ปรึกษา ตั้งแต่เรียน ทำงาน
จนจะแต่งงานก็ยังต้องปรึกษามัน


เพื่อนคอยสับรางเวลารถไฟจะชน
เพื่อนคอยโกหกพ่อแม่เวลาไปเที่ยวแต่บอกว่าไปทำงาน
เพื่อนคอยบอกแฟนว่าเรากำลังอยู่กับมัน ทั้งที่จริงเราไม่ได้อยู่กับมันหรอก

และเพื่อนก็คือคนจ่ายค่าข้าวเวลาเราไม่มีเงิน

"เพื่อน" คือ ทุกอย่าง

มีผู้....ที่เคยคบกันถามว่าจะให้เลือกหนึ่งเดียว
ระหว่างเค้าซึ่งคบกันมา 1 ปี กับเพื่อนซึ่งคบมาประมาณ 15 ปี ว่าคุณจะเลือกใคร
ตอบแบบไม่ต้องคิดเลยว่า "เพื่อน"
ซึ่งเค้าก็บอกว่าตอบผิดตอบใหม่ได้นะ
เราก็บอกว่าตอบถูกแล้ว
เพราะเค้าเห็นว่าเรารักเพื่อนมากกว่า แต่ไม่ใช่

ถัาเราจะต้องเอาคนเข้ามาในชีวิตอีก 1 คน
ซึ่งก็ยังไม่รู้อะไรกันมาก
กับเสียคนที่เรารู้จกกันมาเป็น 10 ปี
เราว่าทุกคนก็ต้องมีคำตอบเหมือนกับเรา
เพราะทั้งสำหรับคนทั้งสองกลุ่ม
เราไม่สามารถเอาแต่ละคนมาบวกและลบกันเพื่อให้ผลลัพธ์เป็นศูนย์

เพราะฉะนั้นทุกคนต้องเลือกสิ่งที่มีค่ามากกว่า

และสิ่งที่เราเลือก สิ่งนั้นก็คือ *****""เพื่อน""****
"some time happy… some time sad… but all time friend "

บทส่งท้าย ถ้าเราสนุก ไปเที่ยวโดยไม่มีเพื่อน
แล้วเล่าให้มันฟัง

มันก็ไม่ว่าอะไร....แล้วถ้าเราเที่ยวแล้วเกิดปัญหา
เราตามตัวมันมา
มันเคยพูดไหมว่า "*ไม่สน*เที่ยวแล้วไม่ชวน* *แก้ไขเองแล้วกัน"
คำพูดอย่างนี่จะไม่มีจากปากเพื่อน

จะมีแต่คำว่า " อยู่ตรงไหน เป็นอะไร"
แล้วก็ลงท้ายว่า *จะรีบไป....

แผนสถิติ 2

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง สถิติ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
รายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค 33101 ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 ภาคเรียนที่ 2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การสร้างตารางแจกแจงความถี่ เวลา 1 ชั่วโมง
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
1. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
มาตรฐาน ค 5.1 : เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้
2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2.1 ด้านความรู้ (K)
สร้างตารางแจกแจกความถี่ของข้อมูลที่กำหนดให้ได้
2.2 ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (A)
1) มีความรับผิดชอบ
2) สามารถทำงานอย่างเป็นระบบ เรียบร้อย
2.3 ด้านทักษะ / กระบวนการเรียนรู้ (P)
1) การแก้ปัญหา
2) การใช้เหตุผล
3) การสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอ

3. จุดประสงค์การเรียนรู้
3.1 ด้านความรู้ (K)
นักเรียนสามารถสร้างตารางแจกแจกความถี่ของข้อมูลที่กำหนดให้ได้
3.2 ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (A)
1) นักเรียนมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
2) นักเรียนสามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบและเรียบร้อย
3.3 ด้านทักษะ / กระบวนการเรียนรู้ (P)
1) นักเรียนมีกระบวนการแก้ปัญหาที่หลากหลาย
2) นักเรียนสามารถบอกเหตุผลในการแก้โจทย์ปัญหาได้
3) นักเรียนมีวิธีการสื่อสาร สื่อความหมาย และการนำเสนอที่หลากหลาย

4. สาระสำคัญสาระการเรียนรู้
สร้างตารางแจกแจกความถี่ของข้อมูลที่กำหนดให้ได้

5. สาระการเรียนรู้
เนื่องจาก “ข้อมูลดิบ” หรือ “คะแนนดิบ” หรือ “ค่าจากการสังเกต” ยังเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และยังไม่สามารถแปลความหมายของข้อมูลในภาพรวมได้ เช่น
จากการตรวจให้คะแนนผลงานของนักเรียน จำนวน 10 คน พบว่า นักเรียนได้คะแนน ดังนี้
20 24 18 19 20 15 20 22 14 และ 21 ตามลำดับ จากการตรวจให้คะแนนผลงานของนักเรียน จำนวน 40 คน พบว่า นักเรียนได้คะแนน ดังนี้
20 24 18 19 20 15 20 22 14 21
20 15 10 15 25 19 10 26 22 17
26 29 27 20 18 10 14 28 19 12
13 15 25 22 22 18 26 18 18 25

จากข้อมูลด้านบน ต้องการถามว่า
1) นักเรียนที่มีคะแนนน้อยที่สุด ได้คะแนนเท่าไร
2) นักเรียนที่ได้คะแนนน้อยกว่า 15 คะแนนมีกี่คน
3) นักเรียนที่ได้คะแนน 16-20 คะแนน มีกี่คน

เพื่อให้การตอบคำถามง่ายและรวดเร็วขึ้น รวมทั้งสามารถที่จะพิจารณาคุณลักษณะอื่นๆของข้อมูลได้ด้วย จึงนำข้อมูลมาจัดให้เป็นระบบมากขึ้นด้วยการแจกแจงความถี่ของข้อมูลด้วยการสร้างตารางที่ประกอบไปด้วย 3 สดมภ์ ดังนี้

คะแนน รอยขีด ความถี่

สดมภ์ที่ 1 เขียนข้อมูลเรียงจากน้อยไปมากหรือจากมากไปน้อย เรียงหัวข้อสดมภ์นี้ตามลักษณะของข้อมูล เช่น คะแนน เป็นต้น
สดมภ์ที่ 2 เขียนบันทึกด้วยรอยขีดแสดงการซ้ำกันของข้อมูล เรียกสดมภ์นี้ว่า รอยขีด
สดมภ์ที่ 3 นับจำนวนรอยขีดและจดบันทึก เรียกจำนวนเหล่านี้ว่า ความถี่
ผลจากตารางแจกแจงความถี่นี้ จะทำให้ได้ตารางแสดงข้อมูลที่เรียกว่า ตารางแจกแจงความถี่





จากการสำรวจวันเกิดของนักเรียนจำนวน 25 คน พบว่าวันเกิดของนักเรียนเป็นดังนี้
พุธ อาทิตย์ พฤหัสบดี พุธ จันทร์ อาทิตย์ เสาร์ เสาร์ พุธ ศุกร์
อังคาร เสาร์ จันทร์ อาทิตย์ พุธ เสาร์ พฤหัสบดี อังคาร จันทร์ จันทร์
พฤหัสบดี พุธ อาทิตย์ อังคาร พุธ
จงสร้างตารางแจกแจงความถี่จากการสำรวจและบรรยายผลที่ได้
วันเกิด รอยขีด คามถี่ (จำนวนคน)
อาทิตย์ |||| 4
จันทร์ |||| 4
อังคาร ||| 3
พุธ ||||| | 6
พฤหัสบดี ||| 3
ศุกร์ | 1
เสาร์ |||| 4
รวม 25
จากตารางแจกแจงความถี่ สามารถนำเสนอในรูปแบของการบรรยายได้ว่า
“จากการสำรวจวันเกิดของนักเรียนจำนวน 25 คน พบว่านักเรียนที่เกิดวันพุธมีนักเรียนที่เกิดวันพุธมีมากที่สุดจำนวน 6 คน รองลงมาคือวันอาทิตย์ วันจันทร์และวันเสาร์วันละ 4 คน เกิดวันอังคารและวันพฤหัสบดีวันละ 3 คน และมีนักเรียนเพียงคนเดียวที่เกิดวันศุกร์”
6. ภาระงาน / ชิ้นงาน
6.1 ใบงานที่ 1

7. กิจกรรมการจัดการเรียนรู้
7.1 ขั้นนำ
ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลและเชื่อโยงเข้าสู่การนำเสนอข้อมูล
7.2 ขั้นเข้าสู่บทเรียน
1) ทบทวนการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเชื่อมโยงเข้าสู่การนำข้อมูลไปใช้ต้องมีการจัดข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่อ่านง่ายและเข้าใจง่าย โดยใช้การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของตาราง
2) ครูอธิบายและให้ความหมายเกี่ยวกับการตารางแจกแจงความถี่ และยกตัวอย่างประกอบ
เช่น ตารางแจกแจงความถี่ ประกอบไปด้วย 3 สดมภ์ ดังนี้ คือ


คะแนน รอยขีด ความถี่

สดมภ์ที่ 1 เขียนข้อมูลเรียงจากน้อยไปมากหรือจากมากไปน้อย เรียงหัวข้อสดมภ์นี้ตามลักษณะของข้อมูล เช่น คะแนน เป็นต้น
สดมภ์ที่ 2 เขียนบันทึกด้วยรอยขีดแสดงการซ้ำกันของข้อมูล เรียกสดมภ์นี้ว่า รอยขีด
สดมภ์ที่ 3 นับจำนวนรอยขีดและจดบันทึก เรียกจำนวนเหล่านี้ว่า ความถี่
ผลจากตารางแจกแจงความถี่นี้ จะทำให้ได้ตารางแสดงข้อมูลที่เรียกว่า ตารางแจกแจงความถี่
3) ครูยกตัวอย่างในหนังสือและให้นักเรียนศึกษาตาม พร้อมทั้งตอบคำถามครู โดยให้นักเรียนสรุปแล้วนำเสนอในรูปแบบของการบรรยายลงในใบความรู้ เรื่องการแจกแจงความถี่ของข้อมูล
4) ครูกำหนดประเด็นในการเก็บข้อมูลที่ใกล้ตัวนักเรียน เพื่อให้นักเรียนรวมรวมข้อมูลด้วยตัวเอง
เช่น วันเกิดของนักเรียน ม. 3/3 จำนวน 20 คน ได้ข้อมูลดังนี้ เสาร์ อังคาร จันทร์ ศุกร์พฤหัสบดี อาทิตย์ เสาร์ ศุกร์ พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ อาทิตย์ จันทร์ จันทร์ เสาร์ พุธพฤหัสบดี อาทิตย์ ศุกร์ พุธ
5) นักเรียนพิจารณาข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้พร้อมตอบคำถามครู
เช่น - ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้เรียกว่า อะไร
- ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ เป็นข้อมูลประเภทใด
6) ให้นักเรียนพิจารณาข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้และให้นักเรียนนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ใส่ตารางแจกแจงความถี่ โดยครูได้ถามนักเรียนเกี่ยวกับการสร้างตารางแจกแจงความถี่เพื่อทบทวนความรู้ของนักเรียนก่อนทำ
เช่น - ตารางแจกแจงความถี่ประกอบด้วย กี่สดมภ์
- สดมภ์ที่ 1 เขียนว่าอะไร
- สดมภ์ที่ 2 เขียนว่าอะไร
- สดมภ์ที่ 3 เขียนว่าอะไร
ให้นักเรียนสร้างตารางแจกแจงความถี่ด้วยตนเอง จะได้ดังนี้

วันเกิด รอยขีด คามถี่ (จำนวนคน)
อาทิตย์
จันทร์
อังคาร
พุธ
พฤหัสบดี
ศุกร์
เสาร์
รวม

7) ให้นักเรียนนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ใส่ลงในตารางแจกแจงความถี่ และ นำข้อมูลจากตารางเขียนนำเสนอในรูปแบบของการบรรยาย
7.3 ขั้นสรุป
1) ครูผู้สอนสรุปเนื้อหาการเรียนรู้ที่ได้ในคาบเรียนโดยให้นักเรียนทำใบงานที่ 1
2) ให้นักเรียนศึกษาการสร้างตารางแจกแจงข้อมูลจากใบความรู้ และหนังสือเรียนประกอบ
3) ให้นักเรียนทุกคนช่วยกันสรุปวิธีการสร้างตารางแจกแจงความถี่ที่ได้ทำในตัวอย่างและใน
ใบงานที่ 1
8. สื่อการเรียนรู้ และ แหล่งเรียนรู้
8.1 สื่อการเรียนรู้
1) หนังสือเรียน
2) ใบความรู้ที่ เรื่อง สถิติ
3) ใบงานที่ 1
8.2 แหล่งเรียนรู้
1) ห้องสมุดโรงเรียน
2) นักเรียนที่เรียนเก่งและรุ่นพี่
3) ครูทุกคน
9. การวัดผลและการประเมินผลการเรียนรู้
สิ่งที่จะวัด เครื่องมือวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ เกณฑ์การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
1. ด้านความรู้ (K)
การสร้างตารางแจกแจงข้อมูล 1) ใบความรู้เรื่องสถิติ
2) ใบงานที่ 1 1) นักเรียนสามารถตอบคำถามได้เป็นส่วนใหญ่
2) นักเรียนสามารถทำใบงาน ถูกต้องอย่างน้อย 50%
2. ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (A)
1) ความรับผิดชอบ
2) ความสามารถในการทำงานอย่างเป็นระบบ เรียบร้อย แบบสังเกตพฤติกรรม
นักเรียนสามารถปฏิบัติตามแบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน และได้คะแนน 2 – 3 คะแนน ถือว่าผ่าน
3. ด้านทักษะ / กระบวนการเรียนรู้ (P)
1) การแก้ปัญหา
2) การใช้เหตุผล
3) การสื่อสาร การสื่อความหมายและการนำเสนอ
แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
นักเรียนสามารถแก้ปัญหา ใช้เหตุผล สื่อสาร สื่อความหมายและนำเสนอ (ใบงานที่ 1) ทำถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และได้คะแนนตามแบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน
2 – 3 คะแนน ถือว่าผ่าน
หมายเหตุ 0 – 49% ปรับปรุง (ไม่ผ่าน) , 70 – 79% ดี , 50 – 59% พอใช้
60 - 69% ปานกลาง, 80 – 100% ดีมาก, 1 - ปรับปรุง , 2 - ดี , 3 - ดีมาก
บันทึกผลหลังการสอน

………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………...................…
………………………………………………………………………………………...................…
………………………………………………………………………………………...................…


(ลงชื่อ)
( นางสาวสุนิสา เจริญกลิ่น )

ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………...................…
………………………………………………………………………………………...................…
………………………………………………………………………………………...................…


(ลงชื่อ)
( นายเทพนม นันทวี )
อาจารย์พี่เลี้ยงโรงเรียนด่านทับตะโกราษฎร์อุปถัมภ์




































เนื่องจาก “ข้อมูลดิบ” หรือ “คะแนนดิบ” หรือ “ค่าจากการสังเกต” ยังเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และยังไม่สามารถแปลความหมายของข้อมูลในภาพรวมได้ เช่น
จากการตรวจให้คะแนนผลงานของนักเรียน จำนวน 10 คน พบว่า นักเรียนได้คะแนน ดังนี้
20 24 18 19 20 15 20 22 14 และ 21 ตามลำดับ จากการตรวจให้คะแนนผลงานของนักเรียน จำนวน 40 คน พบว่า นักเรียนได้คะแนน ดังนี้
20 24 18 19 20 15 20 22 14 21
20 15 10 15 25 19 10 26 22 17
26 29 27 20 18 10 14 28 19 12
13 15 25 22 22 18 26 18 18 25

จากข้อมูลด้านบน ต้องการถามว่า
4) นักเรียนที่มีคะแนนน้อยที่สุด ได้คะแนนเท่าไร
5) นักเรียนที่ได้คะแนนน้อยกว่า 15 คะแนนมีกี่คน
6) นักเรียนที่ได้คะแนน 16-20 คะแนน มีกี่คน

เพื่อให้การตอบคำถามง่ายและรวดเร็วขึ้น รวมทั้งสามารถที่จะพิจารณาคุณลักษณะอื่นๆของข้อมูลได้ด้วย จึงนำข้อมูลมาจัดให้เป็นระบบมากขึ้นด้วยการแจกแจงความถี่ของข้อมูลด้วยการสร้างตารางที่ประกอบไปด้วย 3 สดมภ์ ดังนี้

คะแนน รอยขีด ความถี่

สดมภ์ที่ 1 เขียนข้อมูลเรียงจากน้อยไปมากหรือจากมากไปน้อย เรียงหัวข้อสดมภ์นี้ตามลักษณะของข้อมูล เช่น คะแนน เป็นต้น
สดมภ์ที่ 2 เขียนบันทึกด้วยรอยขีดแสดงการซ้ำกันของข้อมูล เรียกสดมภ์นี้ว่า รอยขีด
สดมภ์ที่ 3 นับจำนวนรอยขีดและจดบันทึก เรียกจำนวนเหล่านี้ว่า ความถี่
ผลจากตารางแจกแจงความถี่นี้ จะทำให้ได้ตารางแสดงข้อมูลที่เรียกว่า ตารางแจกแจงความถี่

จากการสำรวจวันเกิดของนักเรียนจำนวน 30 คน พบว่าวันเกิดของนักเรียนเป็นดังนี้
พุธ อาทิตย์ พฤหัสบดี พุธ จันทร์ อาทิตย์ เสาร์ เสาร์ พุธ ศุกร์
อังคาร เสาร์ จันทร์ อาทิตย์ พุธ เสาร์ พฤหัสบดี อังคาร จันทร์ จันทร์
พฤหัสบดี พุธ อาทิตย์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี พุธ จันทร์ พุธ เสาร์
จงสร้างตารางแจกแจงความถี่จากการสำรวจและบรรยายผลที่ได้
วัน รอยขีด ความถี่
จันทร์ ||||| 5
อังคาร ||| 3
พุธ ||||| ||| 8
พฤหัสบดี |||| 4
ศุกร์ | 1
เสาร์ ||||| 5
อาทิตย์ |||| 4
รวม 30 30
จากตารางแจกแจงความถี่ สามารถนำเสนอในรูปแบของการบรรยายได้ว่า
“จากการสำรวจวันเกิดของนักเรียนจำนวน 30 คน พบว่านักเรียนที่เกิดวันพุธมีนักเรียนที่เกิดวันพุธมีมากที่สุดจำนวน 8 คน รองลงมาคือ วันจันทร์และวันเสาร์วันละ 5 คน เกิดวันอาทิตย์และวันพฤหัสบดีวันละ 4 คน มีนักเรียนเกิดวันอังคารจำนวน 3 คน และมีนักเรียนเพียงคนเดียวที่เกิดวันศุกร์”







ชื่อ ...................................................................................... เลขที่ .......... ชั้น ..........


ให้นักเรียนสร้างตารางแจกแจงความถี่จากข้อมูลที่ให้มาและ นำข้อมูลที่ให้มานำเสนอในรูปแบบของการบรรยาย
ครูสอบถามจำนวนชั่วโมงที่ในการนอนเมื่อคืนนี้ ของนักเรียนมา 30 คน และได้ข้อมูลมาดังนี้
8 9 9 8 9 10 8 9 7 6 8 9 7 9 8 10
7 8 9 8 7 10 9 7 8 8 9 8 8 9

วิธีทำ
จำนวนชั่วโมง รอยขีด ความถี่
6 | 1
7 ||||| 5
8 ||||| ||||| | 11
9 ||||| ||||| 10
10 ||| 3
รวม 30 30

“จากการสอบถามเกี่ยวกับเวลาที่ใช้ในการนอนของนักเรียนจำนวน 30 คน พบว่านักเรียนนอนมากที่สุดคือ 8 ชั่โมง มีจำนวน 11 คน นักเรียนที่นอน 9 ชั่วโมงมีจำนวน 10 คน นักเรียนที่นอน 7 ชั่วโมงมีจำนวน 5 คน นักเรียนที่นอน 10 ชั่วโมงมีจำนวน 3 คน และมีนักเรียนที่นอนน้อยที่สุดคือ 6 ชั่วโมง มีจำนวน 1 คน ”





แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จากแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ค 33101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ที่1 ชื่อหน่วย การสร้างตารางแจกแจงความถี่



เลขที่

ชื่อ-สกุล


-ความถูกต้อง ( 10 คะแนน) -ความสะสะอาดของงาน ( 5 คะแนน) - ความเป็นระเบียบของงาน ( 5 คะแนน) รวม สรุปผลการประเมิน
(ผ่าน-ไม่ผ่าน)
1 ด.ช. กฤษฎา ทับอ๋อย 10 4 3 17 ผ่าน
2 ด.ช. ขจรพงษ์ จีนตุ้ม
3 ด.ช. เจษฎา ขาวจีน
4 ด.ช. ชาคริต สัมมานุช
5 ด.ช. ดนัย นรินทร์นอก 10 3 3 16 ผ่าน
6 ด.ช. ธีรพงษ์ มูลทองโล่ย 10 3 3 16 ผ่าน
7 ด.ช. เนตินัย ไกรเนตร
8 ด.ช. บุญธรรม ลือบางใหญ่
9 ด.ช. ประสงค์ จันทร์แผ้ว 10 5 5 20 ผ่าน
10 ด.ช. พรรณราย มีหรอ 10 5 5 20 ผ่าน
11 ด.ช. พัลลภ โกญจนาท
12 ด.ช. วิฑูรย์ แซ่ล้อ 10 5 3 18 ผ่าน
13 ด.ช. ศรายุทธ สลับเขียว
14 ด.ช. ศิริชัย แป้นโก๋ 5 1 2 8 ไม่ผ่าน
15 ด.ช. ศิริวัฒน์ บุตรเลี่ยม 10 5 5 20 ผ่าน
16 ด.ช. ศิริศักดิ์ รอดวรรณโน
17 ด.ช. สันติ มีจันทร์ 10 4 5 19 ผ่าน
18 ด.ช. สุพจน์ สอดศรี
19 ด.ช. สุวิรัตน์ สังข์ทอง
20 ด.ช. อดิศร ดวงแจ่ม
21 ด.ช. อัมพรศักดิ์ ปัญญา 10 4 5 19 ผ่าน
22 ด.ญ. กัลยา จันเพ็ชร 10 5 4 19 ผ่าน
23 ด.ญ. ชุติมา สังข์ทอง
24 ด.ญ. ชุติมา เพชรน้อย 10 5 5 20 ผ่าน
25 ด.ญ. ณัฐภรณ์ อุไรลักษณ์ 10 5 5 20 ผ่าน
26 ด.ญ. นัฏฐากาญน์ หมื่นสายญาติ 10 4 5 19 ผ่าน
27 ด.ญ. น้ำฝน สุธาพจน์ 10 5 5 20 ผ่าน
28 ด.ญ. นุชนาฏ มะปะภา 10 5 5 20 ผ่าน
29 ด.ญ. ประภาพร ศิริบุตร 10 5 4 19 ผ่าน
30 ด.ญ. พรรณทิพา นุชนารถ 10 3 5 18 ผ่าน
31 ด.ญ. รุ่งนภา โพธิ์ทอง
32 ด.ญ. วันทนา นพเก้า 10 5 4 19 ผ่าน
33 ด.ญ. วาสนา ทับทิมสี 10 4 2 16 ผ่าน
34 ด.ญ. ศิรินทิพย์ วรรณโณ 10 4 3 17 ผ่าน
35 ด.ญ. สุณิสา มณีโชติ 10 5 3 18 ผ่าน
36 ด.ญ. สุภาพร เซี่ยงคิ้ว 10 4 3 17 ผ่าน
37 ด.ญ. หนึ่งฤทัย เมืองนก 10 3 2 15 ผ่าน
38 ด.ญ. อณิษฐา จูสิน
39 ด.ญ. อนุสรา สินภู่
40 ด.ญ. อรดา อินวิเชียร 10 3 3 16 ผ่าน
41 ด.ญ. อรุณี แสงทอง 10 3 3 16 ผ่าน
42 ด.ญ. ยุพา สังข์ทอง 10 4 2 16 ผ่าน
43 ด.ช. ปรีชา คมขำ
รวม 265 111 102
เฉลี่ยร้อยละ 9.81 4.11 7.29
เกณฑ์การประเมิน ผ่าน 3 รายการ อยู่ในระดับ ดีมาก
ผ่าน 2 รายการ อยู่ในระดับ ดี (ลงชื่อ)......................................................ผู้ประเมิน
ผ่าน 1 รายการ อยู่ในระดับ พอใช้ (นางสาวสุนิสา เจริญกลิ่น)
ไม่ผ่านการประเมินทั้งหมด อยู่ในระดับ ต้องปรับปรุง
คะแนนแบบฝึกหัด ต้อง ได้ 50% ขึ้นไปถึงจะผ่าน

แบบประเมินด้านความรู้ ด้านความรับผิดชอบ
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ค 33101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การสร้างตารางแจกแจงคามถี่




เลขที่

ชื่อ-สกุล


- ส่งงานก่อนหรือตรงกำหนดเวลานัดหมาย - รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายและ
ปฏิบัติจนเป็นนิสัย รวมรายการที่ผ่านการประเมิน ระดับการประเมิน สรุปผลการประเมิน
(ผ่าน-ไม่ผ่าน)
1 ด.ช. กฤษฎา ทับอ๋อย 3 3 2 ดี ผ่าน
2 ด.ช. ขจรพงษ์ จีนตุ้ม
3 ด.ช. เจษฎา ขาวจีน
4 ด.ช. ชาคริต สัมมานุช
5 ด.ช. ดนัย นรินทร์นอก 2 1 2 ดี ผ่าน
6 ด.ช. ธีรพงษ์ มูลทองโล่ย 3 2 2 ดี ผ่าน
7 ด.ช. เนตินัย ไกรเนตร
8 ด.ช. บุญธรรม ลือบางใหญ่
9 ด.ช. ประสงค์ จันทร์แผ้ว 3 3 2 ดี ผ่าน
10 ด.ช. พรรณราย มีหรอ 3 2 2 ดี ผ่าน
11 ด.ช. พัลลภ โกญจนาท
12 ด.ช. วิฑูรย์ แซ่ล้อ 3 2 2 ดี ผ่าน
13 ด.ช. ศรายุทธ สลับเขียว
14 ด.ช. ศิริชัย แป้นโก๋ 2 2 2 ดี ผ่าน
15 ด.ช. ศิริวัฒน์ บุตรเลี่ยม 3 2 2 ดี ผ่าน
16 ด.ช. ศิริศักดิ์ รอดวรรณโน
17 ด.ช. สันติ มีจันทร์
18 ด.ช. สุพจน์ สอดศรี 2 2 2 ดี ผ่าน
19 ด.ช. สุวิรัตน์ สังข์ทอง
20 ด.ช. อดิศร ดวงแจ่ม
21 ด.ช. อัมพรศักดิ์ ปัญญา 3 2 2 ดี ผ่าน
22 ด.ญ. กัลยา จันเพ็ชร 3 2 2 ดี ผ่าน
23 ด.ญ. ชุติมา สังข์ทอง
24 ด.ญ. ชุติมา เพชรน้อย 3 2 2 ดี ผ่าน
25 ด.ญ. ณัฐภรณ์ อุไรลักษณ์ 3 2 2 ดี ผ่าน
26 ด.ญ. นัฏฐากาญน์ หมื่นสายญาติ 3 3 2 ดี ผ่าน
27 ด.ญ. น้ำฝน สุธาพจน์ 3 2 2 ดี ผ่าน
28 ด.ญ. นุชนาฏ มะปะภา 3 3 2 ดี ผ่าน
29 ด.ญ. ประภาพร ศิริบุตร 2 1 1 พอใช้ ไม่ผ่าน
30 ด.ญ. พรรณทิพา นุชนารถ 3 3 2 ดี ผ่าน
31 ด.ญ. รุ่งนภา โพธิ์ทอง
32 ด.ญ. วันทนา นพเก้า 3 2 2 ดี ผ่าน
33 ด.ญ. วาสนา ทับทิมสี 3 2 2 ดี ผ่าน
34 ด.ญ. ศิรินทิพย์ วรรณโณ 3 2 2 ดี ผ่าน
35 ด.ญ. สุณิสา มณีโชติ 2 3 2 ดี ผ่าน
36 ด.ญ. สุภาพร เซี่ยงคิ้ว 2 2 2 ดี ผ่าน
37 ด.ญ. หนึ่งฤทัย เมืองนก 2 1 1 พอใช้ ไม่ผ่าน
38 ด.ญ. อณิษฐา จูสิน
39 ด.ญ. อนุสรา สินภู่
40 ด.ญ. อรดา อินวิเชียร 2 3 2 ดี ผ่าน
41 ด.ญ. อรุณี แสงทอง 1 2 1 พอใช้ ไม่ผ่าน
42 ด.ญ. ยุพา สังข์ทอง 2 3 2 ดี ผ่าน
43 ด.ช. ปรีชา คมขำ
รวม 70 59
เฉลี่ยร้อยละ 2.59 2.18
เกณฑ์การประเมิน
ผ่าน 2 รายการ อยู่ในระดับ ดี (ลงชื่อ)......................................................ผู้ประเมิน
ผ่าน 1 รายการ อยู่ในระดับ พอใช้ (นางสาวสุนิสา เจริญกลิ่น)
ไม่ผ่านการประเมินทั้งหมด อยู่ในระดับ ต้องปรับปรุง

เนื่องจาก “ข้อมูลดิบ” หรือ “คะแนนดิบ” หรือ “ค่าจากการสังเกต” ยังเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และยังไม่สามารถแปลความหมายของข้อมูลในภาพรวมได้ เช่น
จากการตรวจให้คะแนนผลงานของนักเรียน จำนวน 10 คน พบว่า นักเรียนได้คะแนน ดังนี้
20 24 18 19 20 15 20 22 14 และ 21 ตามลำดับ จากการตรวจให้คะแนนผลงานของนักเรียน จำนวน 40 คน พบว่า นักเรียนได้คะแนน ดังนี้
20 24 18 19 20 15 20 22 14 21
20 15 10 15 25 19 10 26 22 17
26 29 27 20 18 10 14 28 19 12
13 15 25 22 22 18 26 18 18 25

จากข้อมูลด้านบน ต้องการถามว่า
7) นักเรียนที่มีคะแนนน้อยที่สุด ได้คะแนนเท่าไร
8) นักเรียนที่ได้คะแนนน้อยกว่า 15 คะแนนมีกี่คน
9) นักเรียนที่ได้คะแนน 16-20 คะแนน มีกี่คน

เพื่อให้การตอบคำถามง่ายและรวดเร็วขึ้น รวมทั้งสามารถที่จะพิจารณาคุณลักษณะอื่นๆของข้อมูลได้ด้วย จึงนำข้อมูลมาจัดให้เป็นระบบมากขึ้นด้วยการแจกแจงความถี่ของข้อมูลด้วยการสร้างตารางที่ประกอบไปด้วย 3 สดมภ์ ดังนี้

คะแนน รอยขีด ความถี่

สดมภ์ที่ 1 เขียนข้อมูลเรียงจากน้อยไปมากหรือจากมากไปน้อย เรียงหัวข้อสดมภ์นี้ตามลักษณะของข้อมูล เช่น คะแนน เป็นต้น
สดมภ์ที่ 2 เขียนบันทึกด้วยรอยขีดแสดงการซ้ำกันของข้อมูล เรียกสดมภ์นี้ว่า รอยขีด
สดมภ์ที่ 3 นับจำนวนรอยขีดและจดบันทึก เรียกจำนวนเหล่านี้ว่า ความถี่
ผลจากตารางแจกแจงความถี่นี้ จะทำให้ได้ตารางแสดงข้อมูลที่เรียกว่า ตารางแจกแจงความถี่



จากการสำรวจวันเกิดของนักเรียนจำนวน 30 คน พบว่าวันเกิดของนักเรียนเป็นดังนี้
พุธ อาทิตย์ พฤหัสบดี พุธ จันทร์ อาทิตย์ เสาร์ เสาร์ พุธ ศุกร์
อังคาร เสาร์ จันทร์ อาทิตย์ พุธ เสาร์ พฤหัสบดี อังคาร จันทร์ จันทร์
พฤหัสบดี พุธ อาทิตย์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี พุธ จันทร์ พุธ เสาร์
จงสร้างตารางแจกแจงความถี่จากการสำรวจและบรรยายผลที่ได้









จากตารางแจกแจงความถี่ สามารถนำเสนอในรูปแบของการบรรยายได้ว่า
“................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................”






ชื่อ ...................................................................................... เลขที่ .......... ชั้น ..........



ให้นักเรียนสร้างตารางแจกแจงความถี่จากข้อมูลที่ให้มาและ นำข้อมูลที่ให้มานำเสนอในรูปแบบของการบรรยาย
ครูสอบถามจำนวนชั่วโมงที่ในการนอนเมื่อคืนนี้ ของนักเรียนมา 30 คน และได้ข้อมูลมาดังนี้
8 9 9 8 9 10 8 9 7 6 8 9 7 9 8 10
7 8 9 8 7 10 9 7 8 8 9 8 8 9

วิธีทำ
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ “จากการสอบถามเกี่ยวกับเวลาที่ใช้ในการนอนของนักเรียนจำนวน 30 คน พบว่า.......................
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................”

แผนการสอนเรื่องสถิติ ม.3

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง สถิติ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

รายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา 33101 ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 ภาคเรียนที่ 2

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การศึกษาโดยใช้ระเบียบและวิธีทางสถิติ เวลา 1 ชั่วโมง

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

.

1. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น

มาตรฐาน ค 5.1 : เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้

2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

2.1 ด้านความรู้ (K)

กำหนดประเด็น เขียนข้อคำถามและเก็บรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสมได้

2.2 ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (A)

1) มีความรับผิดชอบ

2) สามารถทำงานอย่างเป็นระบบ เรียบร้อย

3) สามารถการทำงานร่วมกับผู้อื่น

2.3 ด้านทักษะ / กระบวนการเรียนรู้ (P)

1) การแก้ปัญหา

2) การใช้เหตุผล

3) การสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอ

3. จุดประสงค์การเรียนรู้

3.1 ด้านความรู้ (K)

นักเรียนสามารถกำหนดประเด็น เขียนข้อคำถามและเก็บรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสมได้

3.2 ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (A)

1) นักเรียนมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

2) นักเรียนสามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบและเรียบร้อย

3) นักเรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

2.3 ด้านทักษะ / กระบวนการเรียนรู้ (P)

1) นักเรียนมีกระบวนการแก้ปัญหาที่หลากหลาย

2) นักเรียนสามารถบอกเหตุผลในการแก้โจทย์ปัญหาได้

3) นักเรียนมีวิธีการสื่อสาร สื่อความหมาย และการนำเสนอที่หลากหลาย

4. สาระสำคัญสาระการเรียนรู้

การกำหนดประเด็น การเขียนข้อคำถาม และการรวบรวมข้อมูล

5. สาระการเรียนรู้

สถิติ มี 2 ความหมาย คือ

สถิติ หมายถึง ตัวเลขหรือกลุ่มของตัวเลขที่แสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใด เช่น สถิติเกี่ยวกับปริมานน้ำฝน สถิติการเกิดอัคคีภัย ตัวเลขแสดงน้ำหนักมากที่สุดที่นักยกน้ำหนักหญิงทำได้ เป็นต้น

สถิติ หมายถึง กระบวนการวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดระบบวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การแปลความหมาย และการสรุปผลข้อมูล

การเรียนรู้สถิติในความหมายที่เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวกับการจัดการข้อมูล หรือข้อเท็จจริงของเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เราสนใจ โดยข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมมานั้น ทางสถิติเรียกว่าข้อมูลดิบ หรือคะแนนดิบ หรือค่าจากการสังเกต

ข้อมูลทางสถิติ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าใช้จ่าย ค่าเดินทาง อายุ วันที่ เป็นต้น

2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ หรือข้อมูลเชิงคุณลักษณะ ได้แก่ เพศ ศาสนา สถานภาพ ประเภทกีฬาที่ชอบ เป็นต้น

1. การศึกษาโดยใช้ระเบียบและวิธีทางสถิติ



ระเบียบทางสถิติ มีวิธีการดังนี้ การกำหนดประเด็นปัญหา การกำหนดคำถาม การวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การสรุปและตีความ

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีหลายแบบ เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบประเมินค่า เป็นต้น

ตัวอย่าง

ขวัญข้าวต้องการศึกษาว่าครอบครัวของเขาต้องเสียค่าโทรศัพท์ในแต่ละเดือนมากน้อยเพียงใด เธอจึงรวบรวมใบแจ้งค่าใช้บริการ จดบัญทึกข้อมูล จัดทำตารางบัญทึกข้อมูลวิเคราะห์ และสรุปผลจากข้อมูลที่รวบรวมมา ได้ดังนี้

ตารางแสดงค่าโทรศัพท์ของครอบครัวขวัญข้าว

ระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2549

เดือน

จำนวนเงิน (บาท)

มกราคม

1,939.38

กุมภาพันธ์

1,263.14

มีนาคม

1,188.24

เมษายน

914.31

พฤษภาคม

991.89

มิถุนายน

1,803.49

รวม 6 เดือน

8,100.45

จากตารางข้างต้นขวัญข้าวสรุปได้ว่า “ ในรอบ 6 เดือนครอบครัวของเราใช้จ่ายมากทีสุดในเดือนมกราคม เป็นเงิน 1,939.38 บาท และต่ำที่สุดในเดือนเมษายน เป็นเงิน 914.31 บาท แนวโน้มของค่าโทรศัพท์ลดลงในช่วงห้าเดือนแรกของปี และกลับสูงขึ้นในเดือนมิถุนายนจนเกือบเป็นสองเท่าของเดือนพฤษภาคม ในช่วง 6 เดือนแรกของ ปี 2549 นี้ ครอบครัวของเราต้องจ่ายค่าโทรศัพท์รวมแล้ว 8,100.45

ขวัญข้าวแจ้งสรุปผลให้คนอื่นๆในครอบครัวทราบและขอร้องให้ทุกคนลดการใช้โทรศัพท์เพื่อจะได้ลดรายจ่ายของครอบครัวลง

จากตัวอย่าง สามารถนำมาพิจารณาการใช้ระเบียบวิธีทางสถิติของขวัญข้าวได้ดังนี้

1) ประเด็นที่สนใจจะหาข้อมูล : ค่าโทรศัพท์รายเดือน

2) แหล่งข้อมูล (ผู้ให้ข้อมูล) : ใบแจ้งค่าบริการ

3) คำถามที่ใช้ : ค่าโทรศัพท์เดือนละเท่าไหร่

4) วิธีการเก็บข้อมูล : จดบันทึกจากเอกสาร

5) ลักษณะของข้อมูล : ข้อมูลเชิงปริมาณ

6) การนำเสนอข้อมูล : นำเสนอข้อมูลด้วยตาราง

7) การสรุปและตีความข้อมูล : ในรอบ 6 เดือนครอบครัวของเราใช้จ่ายมากทีสุดในเดือนมกราคม เป็นเงิน 1,939.38 บาท และต่ำที่สุดในเดือนเมษายน เป็นเงิน 914.31 บาท แนวโน้มของค่าโทรศัพท์ลดลงในช่วงห้าเดือนแรกของปี และกลับสูงขึ้นในเดือนมิถุนายนจนเกือบเป็นสองเท่าของเดือนพฤษภาคม ในช่วง 6 เดือนแรกของ ปี 2549 นี้ ครอบครัวของเราต้องจ่ายค่าโทรศัพท์รวมแล้ว 8,100.45

8) การตัดสินใจ : ใช้โทรศัพท์เท่าที่จำเป็น เพื่อลดรายจ่ายของครอบครัว

6. ภาระงาน / ชิ้นงาน

5.1 ใบกิจกรรมที่ 1

7. กิจกรรมการจัดการเรียนรู้

7.1 ขั้นนำ

ครูสอบถามความรู้เกี่ยวกับสถิติของนักเรียน

7.2 ขั้นเข้าสู่บทเรียน

1) ทบทวนนักเรียนเกี่ยวกับสถิติในชีวิตประจำวัน ในการบอกตัวเลข เช่น สถิติในการวิ่งแข่งในระยะ 200 เมตร ของนักวิ่ง ตัวเลขแสดงน้ำหนักที่มากที่สุดของนักยกน้ำหนักที่ทำได้

และสถิติในความหมายทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นกระบนการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดระบบและการวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การแปลความหมาย และการสรุปผล

2) ครูรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนชั้น ม. 3/3 เกี่ยวกับน้ำหนักของนักเรียนจำนน 10 คน และให้นักเรียนทำใบความรู้ ที่ครูแจกให้โดยจะได้ข้อมูลทั้งหมด 10 ตัวด้วยกัน

เช่น น้ำหนักของนักเรียน 10 คน เป็นดังนี้ 45 51 43 52 47 55 48 49 50 51

3) ให้นักเรียนได้รู้จักความหมายของข้อมูลดิบ จากข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมมาได้

เช่น จาก ข้อมูลที่ได้จากน้ำหนักของนักเรียน 10 คน น้ำหนัก คือ ข้อมูลซึ่งเราจะเรียก

45 51 43 52 47 55 48 49 50 51 ว่า ข้อมูลดิบ

4) อธิบายความหมายของข้อมูลปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ พร้อมทั้งยกตัวอย่างให้นักเรียนพิจารณาถึงความแตกต่างของข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

เช่น - ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าใช้จ่าย ค่าเดินทาง อายุ วันที่ เป็นต้น

- ข้อมูลเชิงคุณภาพ หรือข้อมูลเชิงคุณลักษณะ ได้แก่ เพศ ศาสนา สถานภาพ ประเภทกีฬาที่ชอบ เป็นต้น

5) ให้นักเรียนพิจารณาการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีทางสถิติ พร้อมทั้งครูอธิบายขั้นตอนเกี่ยวกับระเบียบทางสถิติ พร้อมทั้งยกตัวอย่างและนักเรียนร่วมทำตามตัวอย่างที่ครูยกให้

7.3 ขั้นสรุป

1) ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มละ 8 คนเพื่อ ทำใบกิจกรรมที่ 1 และส่งตัวแทนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

2) ให้นักเรียนศึกษาการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีทางสถิติเพิ่มเติมจากหนังสือเรียน หรือใบความรู้เรื่องสถิติ

3) ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปความหมายของสถิติ และสรุปเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการทางสถิติ

8. สื่อการเรียนรู้ และ แหล่งเรียนรู้

8.1 สื่อการเรียนรู้

1) หนังสือเรียน

2) ใบความรู้เรื่องสถิติ

8.2 แหล่งเรียนรู้

1) ห้องสมุดโรงเรียน

2) นักเรียนที่เรียนเก่งและรุ่นพี่

3) ครูทุกคน

9. การวัดผลและการประเมินผลการเรียนรู้

สิ่งที่จะวัด

เครื่องมือวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้

1. ด้านความรู้ (K)

การกำหนดประเด็น การเขียนข้อคำถาม และการรวบรวมข้อมูล

1) ใบความรู้เรื่องสถิติ

2) ใบกิจกรรมที่ 1

1) นักเรียนสามารถตอบคำถามได้เป็นส่วนใหญ่

2) นักเรียนสามารถทำใบกิจกรรม ถูกต้องอย่างน้อย 50%

สิ่งที่จะวัด

เครื่องมือวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้

2. ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (A)

1) ความรับผิดชอบ

2) ความสามารถในการทำงานอย่างเป็นระบบ เรียบร้อย

3) การทำงานร่วมกับผู้อื่น

แบบสังเกตพฤติกรรม

นักเรียนสามารถปฏิบัติตามแบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน และได้คะแนน 2 – 3 คะแนน ถือว่าผ่าน

3. ด้านทักษะ / กระบวนการเรียนรู้ (P)

1) การแก้ปัญหา

2) การใช้เหตุผล

3) การสื่อสาร การสื่อความหมายและการนำเสนอ

แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

นักเรียนสามารถแก้ปัญหา ใช้เหตุผล สื่อสาร สื่อความหมายและนำเสนอ

(ใบกิจกรรม) ทำถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และได้คะแนนตามแบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน

2 – 3 คะแนน ถือว่าผ่าน